top of page

                      ปัญหาความผิดปกติของกระดูก 

 

 

-โรคเก๊าท์ 

 

     โรคเก๊าท์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุดในมนุษย์โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตะบอลิสซั่มของกรดยูริกในร่างกายเป็นผลให้กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต (monosodium urate) สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อและไต 

 

    เมื่อมีอาการแสดงเต็มที่จะประกอบไปด้วย 

 

-อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน 

-โรคข้ออักเสบเรื้อรัง 

-ทำให้ไตทำงานบกพร่องการเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)

-และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด 

 

      ในรายที่เรื้อรังการเกาะของเกลือ monosodium urateจะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า

Tophi ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื่องจากมีการเกาะของเกลือ uric บริเวณข้อ และเอ็น

ากเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อผิดรูปและเสียหน้าที่ในการทำงานนอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของ

ไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วย 

     โรคเก๊าท์จะหมายถึงภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อทำให้เกิดการอักเสบมีอาการปวด

บวมแดงร้อนผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์อาจจะมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มี

กรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเก๊าท์เสมอไป โรคเก๊าท์เป็นในผู้ชายมากว่าผู้หญิง 9 เท่าและมักเป็นวัยกลางคนขึ้นไปส่วนผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือน 

 

 

-โรคกระดูกพรุน 

 

 

     โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กะดูกมีเนื้อกรดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยม

ในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย 

ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกนหลังให้อวัยวะ

ต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย

โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรง

ดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1 

 

     ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการ

สร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง

กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้าง

ทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่าง

รวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูก

ดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน 

     

     กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเแพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ 

 

     -ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง 

 

     -เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว 

 

 

 

-กระดูกหัก 

 

 

     กระดูกหัก (fracture) หมายความถึงกระดูกแยกออกจากกัน ก่อให้เกิดความเจ็บปวด

บวมเคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ เนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน หกล้มตกจากที่สูง

หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้วกระดูกเปราะเมื่อถูกแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจ

หักได้การเข้าเฝือก และ การผ่าตัดจะช่วยให้กระดูกติดกันตามแนวปกติ และ ทำหน้าที่ได้ดังเดิม 

 

 

-ข้อเคล็ดข้อแพลง 

 

 

     ลักษณะทั่วไป

- พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ข้อที่พบได้บ่อยมาก ได้แก่ข้อเท้า มักจะเกิดจากการเดินสะดุด หรือหกล้มข้อเท้าพลิก หรือบิดงอ นอกจากนี้ยังอาจเกิดที่ข้อเข่า ข้อไหล่ข้อมือ และข้อนิ้ว 

    สาเหตุ- เกิดจากเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่ยึดอยู่รอบ ๆ ข้อต่อ มีการฉีกขาด เนื่องจากหกล้มข้อบิด ถูกกระแทก หรือ ยกของหนัก 

    อาการ -ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บที่ข้อหลังได้รับบาดเจ็บทันทีโดยจะเจ็บมากเวลาเคลื่อนไหวข้อ หรือใช้นิ้วกดถูก อาการจะรุนแรงมากน้อยขึ้นกับปริมาณของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด 

    สิ่งตรวจพบ -ข้อมีลักษณะบวม แดง และ ร้อน 

 

 

 

วิดีโอ เรื่อง ปัญหากระดูก

bottom of page